สนใจแอร์บ้าน โทรเลย!
086-1601599
082-2913298
ID Line : krobkrua-airban

สินค้าทั้งหมด

เว็บลิงค์

สาระน่ารู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน - เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในที่พักอาศัย
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก ๆ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เครื่องสามารถ จ่ายความเย็นได้เต็มที่ตลอดเวลา
       หมั่นทำความสะอาดแผงท่อทำความเย็น ด้วยแปรงนิ่ม ๆ และน้ำผสมสบู่เหลว อย่างอ่อนทุก 6 เดือน เพื่อให้เครื่องทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
       ทำความสะอาดพัดลมส่งลมเย็น ด้วยแปรงขนาดเล็ก เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่จับ กันเป็นแผ่นแข็งและติดกันอยู่ตามซี่ใบพัดทุก 6 เดือน จะทำให้พัดลมส่งลมได้เต็มสมรรถนะ ตลอดเวลา
       ทำความสะอาดแผงท่อระบายความร้อน โดยการใช้เแปรงนิ่ม ๆ และน้ำฉีด ล้างทุก ๆ 6 เดือนเพื่อให้เครื่องสามารถนำความร้อนภายในห้องออกไปทิ้งให้แก่อากาศภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพแอร์ไม่เย็น

     หากปรากฏว่าเครื่องไม่เย็นเพราะสารทำความเย็นรั่วต้องรีบตรวจหารอยรั่วแล้ว ทำการแก้ไขพร้อมเติมให้เต็มโดยเร็ว มิฉะนั้นเครื่องจะใช้พลังงานไฟฟ้าโดยไม่ทำให้เกิดความ เย็นแต่อย่างไร
     ตรวจสอบฉนวนหุ้มท่อสารทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้เกิดฉีกขาด

ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน


 

 

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ (Maintenance)

เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการก็มีทั้งแบบที่ทำเองได้ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญ


การทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทำได้โดยการถอดแผ่นกรองอากาศ(Filter) มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า แล้วใส่กลับคืน ซึ่งอาจจะทำสัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และความสกปรก การรักษาแผ่นกรองให้สะอาดอยู่เสมอนั้นทำให้การระบายลมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย


การทำความสะอาดภายในโดยช่างผู้ชำนาญ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน แต่อาจไม่บ่อยเท่ากับการทำความสะอาดด้วยตนเอง โดยอาจจะทำ 3-6 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน การล้างภายในต้องใช้ช่างผู้ชำนาญเนื่องจากต้องมีการถอดชิ้นส่วนบางชิ้น เช่นถอดถาดน้ำทิ้งมาล้างเพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดทำความสะอาดแผงคอยล์

การตรวจเช็คสภาพ เป็นการตรวจเช็คระบบทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วจะทำพร้อมกับการล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญ

• วัดความดันน้ำยาในระบบว่าเพียงพอหรือไม่

• ตรวจระบบไฟฟ้า เช่นสภาพของสายไฟ

• หยอดน้ำมันมอเตอร์พัดลมทั้งที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น

• ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต
 

5 ขั้นตอนการเลือกซื้อแอร์

          1. ประเภทของ เครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน แบ่งออกเป็นประเภทตามลักษณะความต้องการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งแตกต่างกันไป ทั้งฟังก์ชั่นการทำงาน ขนาดของ BTU รูปลักษณ์ภาบนอกที่เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งเป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจในการซื้อเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ซื้อ   

ประเภทของแอร์Btu/hจุดเด่นข้อจำกัด

  แบบเคลื่อนที่ี่(Portable)

6000 - 15000 BTU

- เคลื่อนย้ายสะดวก
- ไม่ต้องติดตั้งใช้งานได้

- ต้องหาที่ระบายความร้อน
- ต้องระบายน้ำทิ้งเอง
- กระจายความเย็นเฉพาะจุด
- เสียงค่อนข้างดัง

  แบบติดผนัง(Wall Type)
 

9000 - 36000 BTU

- ทำงานเงียบ
- รูปทรงสวยงาม
- ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย
- มีขนาดบีทียูให้เลือก

- การติดตั้งเฉพาะผนังเท่านั้น
- การกระจายลมแรงลมน้อยกว่า
  แบบตั้งพื้นและแขวนเพดาน

  แบบตั้ง/แขวน(Floor&Ceiling)

12000 - 38000 BTU

- กระจายลมเย็นได้ดี
- สามารถแขวนได้
- สามารถติดตั้งในห้องที่เพดานสูง
   หรือห้องที่มีกระจกรอบด้าน
- เลือกที่จะตั้งพื้นหรือแขวนเพดาน

- มีฟังก์ชั่นการทำงานน้อย
- รูปร่างใหญ่
- ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก
- เสียงดัง มีเสียงลมบ้าง
- ไม่เหมาะกับห้องนอน

 แบบตู้ตั้ง(Floor Standing)
25000 - 36000 BTU

- กระจายลมได้ดีแรงและไกล
- เหมาะสำหรับห้องโล่งใหญ่

- ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก
- ยังไม่มีการทดสอบมาตรฐานเบอร์ 5

 

          2. ขนาดความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน เป็นความสำคัญอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ คือต้องเลือกขนาด การทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ ให้พอเหมาะกับห้องและการใช้งาน โดยหน่วยความเย็นที่เรารู้จักกันดี เรียกว่า BTU (ฺBritish Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr.  

          3. มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นสินค้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จากหน่วยงานไฟฟ้า จะไ้ด้รับรองเรื่องของการประหยัดไฟเบอร์ 5

         4. คุณสมบัติพิเศษต่างๆ และการดีไซน์ คุณสมบัติพิเศษต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศ เช่น ฟิลเตอร์กรองอากาศ การกำหนดความเร็ว ความแรงของมอเตอร์ การปรับทิศทางลม การออกแบบเพื่อความสวยงามของห้อง  

         5. การติดตั้งและการบำรุงรักษา การติดตั้ง เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน ต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น และการใช้ เครื่องปรับอากาศให้เต็มประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงแผนการบำรุงรักษา เครื่องปรับอากาศ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอีกด้วย  

 

 คุณสมบัติต่างๆ รวมถึงราคา ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าที่ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และความต้องการใช้งานรวมทั้งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์์อุตสาหกรรม(สมอ.)
 

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ

การใช้งานเครื่องปรับอากาศ 


     การใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานไฟฟ้าสามารถทำได้ดังนี้  

     1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และ ห้องอาหาร อาจตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า25 องศาเซลเซียสสำหรับห้องนอนนั้นอาจตั้งอุณหภูมิสุงกว่านี้ได้เพราะร่างกายมนุษย์ขณะหลับจะไม่มีการเคลื่อนไหวและมีการคายเหงื่อน้อยลง หากปรับอุณหภูมิเป็น 26องศาเซลเซียสก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนจนเกินไปแต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20  
     2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่เลิกใช้งาน หรือตั้งเวลาปิดการทำงานของตัวเครื่องไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เครื่องหยุดเองโดยอัตโนมัติ

     3. อย่านำสิ่งของไปวางกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของคอนเด็นซิ่งยูนิต ซึ่งตั้งอยู่นอกห้องเพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ออกกและต้องทำงานหนักมากขึ้น และควรตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อระบายความร้อนได้ดี จะประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20 

     4. อย่านำรูปภาพหรือสิ่งของไปขวางทางลมเข้า และออกของแฟนคอยล์ยูนิตซึ่งตั้งอยู่ในห้องเพราะจะทำให้ห้องไม่เย็น 

     5. ควรเปิดหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการ ใช้งานเท่านั้นและปิดไฟทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จเพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดขณะเปิดใช้งาน จะมี ความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น 

     6. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัว หรือภาชนะที่มีผิวหน้าร้อนจัดเช่นเตาไฟฟ้า กะทะร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มสุกี้ เข้าไปในห้องอาหารที่มีการปรับอากาศ ควรปรุงอาหารในครัว แล้วจึงนำเข้ามารับประทานภายในห้อง

     7. ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้อง หรือ ก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศประมาณ  15 นาที ควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศเก่าภายในห้อง จะช่วยลดกลิ่นต่างๆ ให้น้อยลงโดยไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักขึ้น 

     8. ควรเปิดประตู หน้าต่าง ให้สนิทขณะใช้งานครื่องปรับอากาศเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศร้อนชื้นากภายนอกข้ามา จะทำให้ เครื่องต้องทำงานมากขึ้น
     9. ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าภายในห้องที่มีการปรับอากาศเพราะความชื้นจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น

 

เกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ


เครื่องปรับอากาศคืออะไร

เดิมเครื่องปรับอากาศทำหน้าที่เป็นเครื่องที่ทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ปัจจุบันนี้เครื่องปรับอากาศได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในด้านอื่นๆ อีกหลายด้านเช่นปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรือมีการกรองอากาศ การป้องกันเชื้อราในห้อง มีระบบประหยัดไฟฟ้า มีระบบอื่นๆ ที่สนองความต้องการของผู้บริโภคอีกมากมาย ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศในสมัยนี้มีคุณสมบัติต่างจากเครื่องปรับอากาศสมัยก่อนมากชนิดเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว  

ชนิดของเครื่องปรับอากาศ

ส่วนประกอบหลักของเครื่องปรับอากาศแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor) และ ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (outdoor) ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะมีท่อเป็นตัวเชื่อมในการทำงาน โดยปกติแล้ว ทั้งตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor) และ คอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (outdoor) เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศแบบ Window Type และส่วนที่แยกออกมาเราเรียกว่า Single Split Type แต่ในส่วนของ Single Split Type ซึ่งมีหลายแบบด้วยกันจะขึ้นอยู่กับตัวให้ความเย็นที่อยู่ในบ้าน (indoor) Window-type
เครื่องปรับอากาศแบบนี้เป็นชนิดที่ติดตั้งกับฝาผนัง หรือรอบวงกบของหน้าต่าง 
Wall-mounted Single Split Type
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor)หรือระบบการระเหย ซึ่งจะติดอยู่กับฝาผนัง และ ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (condenser) 
Wall-mounted Multi Split Type
เครื่องปรับอากาศแบบ Multi Split เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเย็นมากกว่า 1 ห้องขึ้นไป โดยใช้ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้านเพียง 1 เครื่อง เชื่อมกับ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ในบ้าน 2-3 เครื่อง เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะใช้เนื้อที่น้อยในการติดตั้ง 
Floor Standing type
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ สามารถติดตั้งได้กับทุกสถานที่ ที่มีเพดานสูง และเนื่องจากการต่อท่อเชื่อมการทำงาน ที่ติดตั้งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ เหมาะสำหรับการใช้งานใน ภัตตาคาร หรือสำนักงาน

ระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ

ถ้าเราลองนำแอลกอฮอล์ มาเช็ดที่แขน เมื่อแอลกอฮอล์ระเหย จะรู้สึกเย็น เพราะเมื่อแอลกอฮอล์ระเหยจะดูดซับความร้อนออกไปด้วย ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นลดลง เครื่องปรับอากาศก็ทำงานด้วยวิธีเดียวกันนั่นเอง คือการทำให้ดูดซับความร้อนในห้องออกไป พร้อมกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร ด้วยหลักการเดียวกับการระเหยของแอลกอฮอล์

ส่วนประกอบหลักของการทำความเย็น

เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในระบบการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ และเข้าใจส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วน คือ Compressor 
มีบทบาทสำคัญในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ โดยความเย็นจะถูกดูดจากการหมุนเวียนของระบบทำความเย็น 
Condenser
เป็นตัวที่แยกออกมา และทำหน้าที่นำความร้อนออกจากระบบทำความเย็น 
Evaporator
(ระบบการระเหย) เป็นตัวดูดซับความร้อนในระบบการทำความเย็น 
Tube
เป็นตัวลดความดันของตัวทำความเย็น

BTU คืออะไร?

บีทียู ( Btu : British Thermal Unit ) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ( ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ ) สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลอรีหรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ ความร้อน 1 Btu คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด  12,000    บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจากห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมงแต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่าบีทียูต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลักวิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

ERR คืออะไร?

EER ( Energy Efficiency Ratio ) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ
คือค่าที่ใช้วัด      ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่อย่างไร มีหน่วยเป็น BTU/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง ( Output ) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็นนั้น ( Input ) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้มากนั่นเอง
หมายเหตุ -มาตรฐานมอก.2134-2545 คือ EER 9.6 
             -เบอร์ 5 ปีที่แล้วเบอร์ 5 EER 10.6 
             -เบอร์ 5 ปี 2006 EER 11.0 
             -เบอร์ 5 Premium ปี 2006 EER 11.5 
             -HAH Hybrid Saijo Denki 15.51

 

จะซื้อแอร์ต้องพิจารณาอะไรบ้าง

จะซื้อแอร์ติดบ้านต้องพิจารณาอะไรบ้างคะ ?

ข้อแนะนำต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศได้ดีขึ้น 1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนมส่วนใหญ่จะมีกำลังความเย็น ( BTU ) น้อยกว่า 2. ควรเลือกใช้3. เลือกใช้เครื่องปรับอากาศของผู้ผลิตที่และผู้แทนจำหน่าย มีบริการหลังการขายที่ดี ข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญมากเช่นกันผู้ให้บริการนั้นต้องมีความชำนาญ ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้ เพราะนั่นหมายถึงผู้ที่จะดูแลเครื่องปรับอากาศของคุณ จะได้ไม่ต้องมาหงุดหงิดกับปัญหาจุกจิกกวนใจภายหลัง ที่แสดงไว้บนฉลากหรือที่ภาษาช่างแอร์เรียกว่า ไม่เต็มบีทียู เครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตโนเนมส่วนใหญ่มีกำลังความเย็นเพียง 70 – 80 % ของที่โฆษณาไว้ นอกจากจะ –แอร์โนเนมยังมีเสียงดังแล้วยังเสียเร็วด้วย เครื่องปรับอากาศที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือเบอร์ 4 และได้มาตรฐานอุตสาหกรรม ( มอก. ) เพราะได้รับการทดสอบความสามารถในการทำความเย็นแล้ว ซึ่งทำให้ท่านแน่ใจได้ว่าจะได้เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพเต็มบีทียู นอกจากนี้ควรพิจารณาประกอบกับผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือด้วยเนื่องจากว่าอาจมีผู้ผลิตบางราย ปลอมฉลากเบอร์ 5 ด้วย มีกำลังความเย็นไม่เต็มบีทียูแล้ว

ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คืออะไรคะ ?

เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. ) ได้ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมใจกันประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศจึงได้จัดทำโครงการ “ ประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า “ โดยให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าผลิตหรือนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง สำหรับเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูงและใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดทั้งในบ้านพักอาศัยและในภาคธุรกิจ กฟผ. ได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศให้เข้าร่วมโครงการเพื่อกำหนดระดับประสิทธิภาพและพัฒนาเครื่องปรับอากาศ เพื่อติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ เพื่อติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ. ) โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ( สฟอ. ) เป็นหน่วยงานทดสอบค่าประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระดับประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศเป็นดังนี้ สนับสนุนข้อมูลโดย เครื่องปรับอากาศ " เทรน "ประหยัดไฟเบอร์5 หมายถึง ท่านจ่ายค่ากำลังไฟฟ้า 1หน่วย จะได้ความเย็น ไม่น้อยกว่า 10,600 บีทียู(ซึ่งแอร์ปกติโดยทั่วไปท่านจ่ายค่าไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็น ประมาณ 7,000-8,000 บีทียูเท่านั้น) สอบถามข้อมูล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 02-4368290-96(แสดงว่าถ้าใช้แอร์เบอร์ 5 ประหยัดไฟฟ้า ประมาณ 35%) ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นลักษณะป้ายสีเหลือง และระบุรายละเอียดต่างๆของแอร์ตัวนั้น หากมีข้อสงสัยว่า เครื่องปรับอากาศ ของท่าน ประหยัดไฟฟ้าได้จริงหรือไม่ ถ้าพบยี่ห้อใดผลิตหรือจำหน่ายไม่ตรงกับฉลากที่ระบุไว้ TEL0-24368290-96

ข้อแนะนำลูกค้า

ลูกค้าควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ กับบริษัทที่ผลิตเครื่องปรับอากาศเป็นเมนหลัก เช่น MITSUBISHI ELECTRIC , MITSUBISHI HEAVY    DUTY , SAIJO DENKI และ DAIKIN เป็นต้น

        โดยซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายที่บริษัทแต่งตั้งเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะช่างแอร์เป็นบุคคลที่สามที่เข้าห้องนอนของลูกค้าได้  โดยที่ลูกค้า
    เป็นผู้ยินยอม ดังนั้นการซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายที่บริษัทแต่งตั้ง ลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์ดังต่อไปนี้
        1. สบายใจ และไว้วางใจได้มากกว่า
        2. ทีมงานเป็นมืออาชีพ
        3. อุปกรณ์การติดตั้งได้มาตรฐานตามที่บริษัทฯกำหนด
        4. สินค้าใหม่ และมีใบรับประกันคุณภาพแน่นอน
        5. มีบริการหลังการขายตามที่แจ้งไว้
        6. เครื่องปรับอากาศ เสีย - ล้าง - ย้าย - ติดตั้ง เรียกใช้บริการได้
        7. มีระบบเงินผ่อนไว้เพื่อบริการลูกค้า
        8. ยินดีรับบัตรทุกชนิด
        9. ราคาถูกกว่าห้างฯทุกยี่ห้อ (ขอรับประกัน)

krobkrua-airban
29/1ม.4 ต.ดอนกำยาน  อ.เมือง จ.สพรรณบุรี 72000 

086-1601599, 082-2913298     เปิดทำการทุกวัน 

 
เว็บสำเร็จรูป
×